Categories
knowledge

เรื่องใกล้ตัว สัญญาณเตือนมะเร็งปากมดลูก รู้ไว้จะได้ระวัง

มะเร็งปากมดลูก คร่าชีวิตผู้หญิงไทยครึ่งหมื่นคนต่อปี

มะเร็งถือเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับ 1 แต่หากพูดถึงชนิดของมะเร็งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงมากที่สุด ‘มะเร็งปากมดลูก’ จะต้องติดอยู่ในรายชื่ออันดับต้น ๆ ไปแบบไม่ต้องสงสัย โดยแต่ละปีพบว่าในประเทศไทยผู้หญิงป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกประมาณ 9,000 คน/ปี และพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่า 4,000 – 5,000 คนต่อปี หรือคิดเป็น 50% ของผู้หญิงที่เป็นโรคนี้เลยทีเดียว

ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูกมักพบได้ในเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ก่อน 30 ปี ไปจนถึง 80 ปี แต่ส่วนใหญ่แล้วมักพบในกลุ่มคนอายุระหว่าง 35 – 50 ปี โดยผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมที่คิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และมีความรู้สึกเขินอายหากต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจภายในเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นกว่าจะรู้ถึงความผิดปกติของร่างกาย ก็อาจอยู่ในขั้นความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับที่ลุกลามและยากต่อการรักษาเสียแล้ว

ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเกิดมาจากเซลล์บริเวณปากมดลูกที่มีความผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้จากการระคายเคืองของสารเคมี ไปจนถึงสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด คือการติดเชื้อไวรัส (Human Papilloma Virus) นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยง ๆ อื่นที่เป็นชนวนทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนี้

  1. การติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การมีคู่นอนหลายคน หรือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน เป็นต้น
  2. การสูบบุหรี่
  3. การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
  4. การตั้งครรภ์หรือมีบุตรหลายคน
  5. ภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่ดี
  6. ละเลยและไม่ยอมเข้ารับการตรวจภายในเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก

และที่น่าเป็นห่วงก็คือในช่วงแรก ๆ ของการเผชิญหน้ากับโรคมะเร็งปากมดลูก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น ซึ่งอาการจะแสดงออกมาอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่มะเร็งเริ่มมีการลุกลามและอาจมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด เช่น หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ หลังหมดประจำเดือน มีตกขาว ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด ที่อาจเกิดขึ้นมาเพราะมะเร็งได้มีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ข้างเคียงแล้ว

สัญญาณเตือนมะเร็งปากมดลูก

  1. มีเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดขึ้นได้หลายช่วงเวลา เช่น ตอนที่มีเพศสัมพันธ์ หลังมีเพศสัมพันธ์ หรือประจำเดือนที่มาผิดปกติก็ได้เช่นกัน
  2. ตกขาวมีเลือดปน โดยปกติแล้วการที่ผู้หญิงเรามีตกขาวบ้างในช่วงก่อนหรือหลังจะมีประจำเดือนนั้นไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่หากมีมากเกินไปและมีเลือดปนอาจเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งก็ได้
  3. รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หากคุณมั่นใจว่าเตรียมตัวพร้อมแล้วสำหรับการเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดไม่ได้แห้งจนรู้สึกเจ็บเสียด แต่ขณะมีเพศสัมพันธ์กลับรู้สึกเจ็บปวดแบบไม่เคยเป็นมาก่อน หรือเจ็บปวดบ่อยครั้งก็ไม่ควรปล่อยไว้เด็ดขาด
  4. มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดจำนวนมากและอาจมีเลือดปน
  5. ปวดท้องน้อยบ่อยเกินปกติ แม้จะไม่ใช่ช่วงใกล้มีประจำเดือนก็ตาม หรือช่วงที่ใกล้มีประจำเดือนแต่อาการปวดท้องประจำเดือนมีมากกว่าที่เคย
  6. รู้สึกเบื่ออาหาร ไม่อยากอาหาร กินอาหารได้น้อยลง จนน้ำหนักตัวเริ่มลดลงอย่างผิดสังเกต
  7. รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ และรู้สึกไม่มีแรงอยู่ตลอดเวลา
  8. ปัสสาวะบ่อยครั้ง รวมถึงอาจมีอาการปวดท้องน้อย ท้องน้อยบวม หรือหากคุณไม่มีได้มีพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะ แต่บางครั้งกลับรู้สึกปวดปัสสาวะแต่ปัสสาวะไม่ออก จำเป็นจะต้องเข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโดยละเอียด

เรื่องโรคภัยไข้เจ็บมีอยู่รอบตัว วันนี้อาจจะดีพรุ่งนี้อาจจะป่วยเป็นเรื่องของอนาคตที่เราไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ เพราะฉะนั้นระวังตัวเองให้ดีที่สุดและอย่าลืมเลือกทำประกันสุขภาพเอาไว้ เพราะอย่างน้อย ๆ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่าจะเงินสำรองเพียงพอต่อการรักษาโดยไม่ต้องคอยกังวลเลยว่าจะกระทบกับค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ มีไว้ยังไงก็ดีกว่าแน่นอน

Categories
knowledge

สาว ๆ สงสัยอะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมร่วงหนักมากตอนสระผม

การที่เส้นผมของเราหลุดร่วงเป็นประจำทุกวันถือเป็นเรื่องปกติ แต่ทั้งนี้เส้นผมควรหลุดไม่เกินวันละ 50 – 100 เส้น แต่หากในช่วงเวลาที่ผมเปียกหรือกำลังสระผมก็มีโอกาสทำให้ผมร่วงมากกว่าในเวลาปกติเหมือนกัน บางคนอาจมีผมร่วงกองโตจนน่าตกใจ และไม่แน่ใจว่าหากเป็นเช่นนี้ต้องเข้าปรึกษาแพทย์หรือไม่ โดยวันนี้เราขออาสาพาสาว ๆ ไปไขคำตอบกัน ว่าแท้จริงแล้วผมร่วงตอนสระเป็นเพราะอะไร เวลาไหนที่เหมาะกับการพบแพทย์

เฉลยคำตอบ ‘วงจรชีวิตเส้นผม’ เป็นอย่างไร

แต่ก่อนที่จะไปฟังเหตุผลที่ทำให้ผมร่วงตอนสระผม เรามาดูกันก่อนว่าจริง ๆ แล้ว ‘วงจรชีวิต’ ของเส้นผมเป็นอย่างไร โดยจากผลการวิจัยเกี่ยวกับเส้นผมเมื่อปี 2008 พบว่าเส้นผมของคนเรามีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 0.35 มม./วัน และจะมีการหลุดร่วงประมาณ 100 เส้นในทุกวัน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนการร่วงปกติของเส้นผม โดยวงจรชีวิตของเส้นผม สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้

  1. อนาเจน (Anagen) – เป็นระยะการเติบโตของเส้นผม ซึ่งคิดเป็น 85 – 90% ของวงจรทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 2 – 6 ปี ยิ่งอายุมากขึ้น ระยะการเติบโตของผมก็จะสั้นลง
  2. แคทาเจน (Catagen) – เป็นระยะที่เส้นผมเติบโตช้าลงและค่อย ๆ หยุดการเติบโต โดยใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ซึ่งคิดเป็น 10% ของวงจรทั้งหมด
  3. เทโลเจน (Telogen) – ระยะที่เซลล์รากผมตายแล้ว และรอการหลุดร่วง พร้อมกันนี้ก็จะมีเส้นผมเกิดใหม่ที่กำลังเข้าสู่ระยะการเติบโตด้วยเช่นกัน จากนั้นจึงจะดันเส้นผมที่ตายแล้วให้หลุดร่วงไป ซึ่งระยะนี้จะมีอายุไม่เกิน 3 เดือน คิดเป็นร้อยละ 5 – 10% ของวงจรชีวิต
เหตุผลที่ทำให้ผมร่วงหนักมากตอนสระผม
เหตุผลที่ทำให้ผมร่วงหนักมากตอนสระผม

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงเวลาสระผม ?

ก่อนที่คุณจะสูญเสียความมั่นจนต้องไปนั่งนับเส้นผมที่หลุดร่วงในพื้นห้องน้ำ ว่าคุณเข้าข่ายผมร่วงผิดปกติหรือไม่ ให้คุณลองดูปัจจัยเหล่านี้ประกอบก่อน เพราะหากคุณมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายปัจจัยเหล่านี้นั่นก็แปลว่าเส้นผมที่หลุดร่วงเป็นเรื่องปกติ ไม่มีอะไรน่ากังวล

เป็นคนผมหนา 

สำหรับคนที่มีเสนผมดกหรือผมหนา อาจจะพบว่ามีปริมาณเส้นผมร่วงมากกว่า 100 เส้น/วันได้ ซึ่งนั่นถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติมาก เนื่องจากคนผมหนาจะมีปริมาณเส้นผมมากกว่าคนอื่น ๆ อยู่แล้ว จึงมีโอกาสที่เส้นผมจะหลุดร่วงออกไปในสัดส่วนที่มากขึ้น ดังนั้นคนผมหนาตัดความกังวลออกไปได้เลย

สังเกตจากการสระผมครั้งล่าสุด

ในขณะที่เรากำลังสระผมด้วยแชมพูหรือประโลมผมด้วยครีมนวดนั้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวที่เข้าไปกระตุ้นให้เส้นผมอยู่ในวงจรชีวิตเส้นผมระดับเทโลเจนที่ถูกกระตุ้นไปด้วย และพร้อมที่หลุดร่วงออกมานั่นเอง ซึ่งปัญหาผมหลุดร่วงอาจเกิด ณ ขณะนั้น หรืออยู่ในระยะ 2 – 3 วันหลังจากสระผมไปแล้วก็อาจพบว่ามีเส้นผมร่วงในปริมาณที่มากได้เช่นกัน

หวีผมครั้งล่าสุดเมื่อไหร่?

กรณีของการหวีผมจะคล้าย ๆ กับการสระผม เพราะการที่หวีหรือแปรงสัมผัสกับหนังศีรษะ ก็เท่ากับว่างสิ่งนี้จะเข้าไปกระตุ้นหนังศีรษะเข้าไปด้วย จึงสังเกตได้ว่าตอนช่วงเวลาที่เรากำลังหวีผมนั้นปริมาณเส้นผมที่ร่วง หรือผมที่ติดกับแปรงหวีผมออกมาจะเยอะเป็นพิเศษ ดังนั้นหวีผมให้เบามือที่สุด อย่ากระชาก ที่สำคัญหวีเพียงวันละ 1 ครั้งก็เพียงพอแล้ว

แต่หากคุณไม่ได้มีพฤติกรรมทำร้ายเส้นผมหรือไม่เข้าข่ายปัจจัยผมร่วงข้างต้น รวมไปถึงมีปัญหาผมร่วงที่ผิดปกติ เช่น ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ หรือร่วงหลายจุด ที่เห็นได้ชัดว่าผมบางลงก็ไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณสุขภาพบางอย่างก็เป็นได้ หรือลองเข้าปรึกษาแพทย์ปลูกผมเพื่อดำเนินการปลูกผม ในกรณีที่ผมหลุดร่วงจากฮอร์โมน เข้าข่ายหัวล้าน ก็เป็นทางออกที่ดีเหมือนกัน

Categories
knowledge

ผมร่วงหลังคลอดหนักมาก ปัญหาใหญ่ที่คุณแม่อย่าเพิ่งถอดใจ

คุณแม่หนักใจ หลังคลอดบุตรผมร่วงหนัก เป็นเพราะอะไร

ต้องยอมรับเลยว่าคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ต้องเสียสละทุกอย่างจริง ๆ ทั้งเรื่องรูปร่าง ผิวพรรณ อาหารการกิน การพักผ่อน และการออกกำลังกาย นอกจากนี้คุณแม่หลายคนยังต้องเผชิญหน้ากับ ‘ปัญหาผมร่วง’ ที่เพียงแค่สางผมเบา ๆ เส้นผมก็สามารถหลุดร่วงติดมือมาได้ง่าย ๆ หากใครที่เป็นคุณแม่มือใหม่อาจเกิดความเครียดและความกังวลใจได้ แล้วอาการดังกล่าวเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ วันนี้บทความที่เรากำลังเขียนจะพาทุกคนไปหาคำตอบที่ถูกต้องกัน

ผมร่วงหลังคลอดเกิดจากอะไร แก้ไขได้ไหม?

อาการผมร่วงหลังคลอด มีสาเหตุสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย โดยปกติแล้วผมคนเราจะหลุดร่วงเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว แต่เมื่อมีการตั้งครรภ์ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้น จนส่งผลทำให้ผมร่วงลดลงและทำให้เส้นผมมีสุขภาพดี แต่ทันทีที่คุณแม่คลอดบุตรแล้วไม่ว่าจะวิธีไหน ๆ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะลดลงด้วยเช่นกัน นั่นจึงทำให้เส้นผมกลับเข้าสู่วงจรหลุดร่วงอีกครั้ง ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นคำตอบสำคัญว่าทำไมหลังคลอดนั้นคุณแม่ถึงมีผมร่วงมากกว่าปกติ เพราะในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาผมของคุณแม่หยุดหลุดร่วงไปนั่นเอง

ผมร่วงหลังคลอดเกิดจากอะไร แก้ไขได้ไหม?
ผมร่วงหลังคลอดเกิดจากอะไร แก้ไขได้ไหม?

ซึ่งอาการผมร่วงหลังคลอดถือว่าเป็นภาวะที่ไม่เป็นอันตรายและไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณแม่ทุกคน ส่วนผู้ที่มีอาการดังกล่าวก็ไม่ต้องกังวลใจแต่อย่างใด เพราะโดยปกติแล้วผมร่วงนั้นเป็นแค่ส่วนน้อยหรือประมาณ 5 – 15% จากผมทั้งหมดบนหนังศีรษะเท่านั้น และส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการดังกล่าวเมื่อเข้าสู่ช่วงประมาณ 3 – 4 เดือนหลังคลอด อาการต่าง ๆ จะเริ่มหายไปเองเมื่อถึงช่วง 6 เดือนหลังคลอด ซึ่งผู้ที่มีอาการผมร่วงหลังคลอดส่วนใหญ่จะมีผมร่วงไม่มาก และผมจะงอกขึ้นมาใหม่ได้เอง ไม่ได้หัวล้านไปแบบถาวร โดยคุณแม่สามารถรับมือด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ดังนี้

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

คนเราต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งอาหารเหล่านี้จะมีส่วนช่วยทำให้ผมงอกขึ้นมาใหม่ได้ แตหากต้องการให้ผมงอกขึ้นใหม่โดยเร็วที่สุด แนะนำให้เน้นการรับประทานอาหารบางชนิด เช่น ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ ถั่ว ผักใบเขียว เป็นต้น

หวีผมอย่างเบามือ

การหวีผมอย่างรุนแรงหรือหวีผมขณะที่ผมพันกันอยู่นั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เส้นผมขาดหลุดร่วงได้ และอาจทำให้อาการผมร่วงแย่ลงกว่าเดิม ดังนั้นจำเป็นต้องหวีผมอย่างเบามือที่สุด และหวีผมเพียงแค่วันละครั้งก็เพียงพอแล้ว

ตัดผมให้สั้นลง

หากคุณแม่ต้องเผชิญหน้ากับภาวะผมร่วงมากจนมองเห็นหนังศีรษะ สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการตัดผมให้สั้นลงเพื่อลดอาการผมร่วง ยิ่งผมยาวก็ยิ่งมีโอกาสผมร่วงได้มากนั่นเอง

หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม

ความร้อนเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายเส้นผมและหนังศีรษะได้ โดยความร้อนจะทำให้ผมบางลงกว่าเดิมจนคุณแม่เริ่มสูญเสียความมั่นใจ ดังนั้นหลังสระผมเสร็จควรจะปล่อยให้ผมแห้งเองตามธรรมชาติ หรืออาจใช้ผ้าขนหนูช่วยซับผมให้แห้งเร็วขึ้นแทนการใช้ความร้อน

แต่ทั้งนี้หากคุณแม่มีอาการผมร่วงนานกว่า 1 ปี หรือมากกว่านั้น จนเริ่มสังเกตเห็นหนังศีรษะและผมบางลงอย่างเห็นได้ชัด แนะนำให้เข้ารับการตรวจประเมินหรือตรวจเลือดดูระดับธาตุเหล็กกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากธาตุเหล็กมีระดับต่ำคุณหมอจะดำเนินการพิจารณาให้ธาตุเหล็กเสริม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาผมร่วงให้กับคุณแม่ หรือลองพึ่งพานวัตกรรมการปลูกผมจากคลินิกต่าง ๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ต้องเข้ารับการปลูกผมในสถานพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐานเท่านั้น เพื่อป้องกันผลข้างเคียงร้ายแรงที่ต้องตามแก้ไขในภายหลัง